Monday, June 24, 2013

ดอกไม้ในประเทศไทย

1.
โป๊ยเซียนต้นไม้แห่งโชคลาภตามความเชื่อถือแต่โบราณ จัดเป็นไม้อวบน้ำอยู่ในวงศ์ Euphorbiaceae ซึ่งเป็นวงศ์ใหญ่มาก พบได้ทั่วไปในประเทศเขตร้อน พืชในวงศ์นี้มีมากกว่า 300 สกุล  โป๊ยเซียนจัดเป็นพืชที่อยู่ในสกุล Euphorbia ซึ่งพืชในสกุลนี้มีไม่ต่ำกว่า 2,500 ชนิด ได้แก่ คริสต์มาส สลัดได ส้มเช้า หญ้ายาง และ กระบองเพชรบางชนิด
         _x.gifโป๊ยเซียน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มงกุฎหนาม (Crown of Thorns) เนื่องจากลักษณะของลำตันที่มีหนามอยู่รอบเหมือนมงกุฎ นอกจากนี้ยังมีชื่อแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค เช่น กรุงเทพฯ เรียก ไม้รับแขก เชียงใหม่ เรียก ไม้ระวิงระไว, พระเจ้ารอบโลก หรือ ว่านเข็มพระอินทร์ แม่ฮ่องสอน เรียก ว่านมุงเมือง แต่คนไทยคุ้นเคยและรู้จักกันในชื่อ โป๊ยเซียน มาช้านาน คำว่า โป๊ยเซียน เป็นคำในภาษาจีน แปลว่า เทพยดาผู้วิเศษ 8 องค์ ดังนั้นจึงมีความเชื่อกันว่าถ้าโป๊ยเซียนออกดอกครบ 8 ดอกในหนึ่งช่อจะนำความโชคดีให้แก่ผู้ปลูกเลี้ยง ด้วยเหตุนี้เองจึงมีผู้สันนิษฐานว่าชาวจีนน่าจะเป็นผู้นำโป๊ยเซียนเข้ามาปลูกเลี้ยงในประเทศไทย ครั้งสมัยที่มีการติดต่อค้าขายกับคนไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งแต่เดิมนั้นดอกของโป๊ยเซียนจะมีขนาด 1-2 ซม. เท่านั้น แต่ในปัจจุบันคนไทยได้ผสมพันธุ์และพัฒนาสายพันธุ์โป๊ยเซียนจนมีขนาดดอกใหญ่กว่า 6 ซม. นอกจากนี้ดอกยังมีสีสันที่สวยงาม จนอาจกล่าวได้ว่าโป๊ยเซียนไทยดีที่สุดในโลก

28902.gif0018034.gifkapook_12757.gifลักษณะโดยทั่วไป kapook_12757.gif
               _x.gifโป๊ยเซียนเป็นไม้อวบน้ำที่มียางและหนามบริเวณลำต้น ทรงต้นเป็นทรงพุ่ม มีอายุยืนนับสิบปี เป็นไม้ที่ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศเนื่องจากสามารถสะสมน้ำไว้ตามลำต้นและใบ จึงทำให้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกภูมิภาคของประเทศไทย ส่วนประกอบโดยทั่วไปของโป๊ยเซียนมีดังนี้



ลำต้น มีลักษณะเป็นไม้อวบน้ำมีหนามแหลมรอบลำต้น อาจมีรูปร่างกลมหรือเหลี่ยมบิดเป็นเกลียวแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสายพันธุ์เมื่อโป๊ยเซียนมีอายุมากขึ้นเนี้อไม้จะแข็งแต่ไม่มีแก่นเหมือนไม้ยืนต้นทั่วไป สีของลำต้นมีสีเทาอมน้ำตาลถึงเทาอมดำ
หนาม เกิดรอบลำต้น มีลักษณะฐานใหญ่ปลายเรียวแหลม อาจงอขึ้นหรือชี้ลงไม่แน่นอน การแตกของหนามอาจแตกเป็นหนามเดี่ยว หนามคู่ หรือหนามกลุ่มตั้งแต่สามหนามขึ้นไป กลุ่มของหนามอาจจะเรียงกันเป็นระเบียบตามแนวลำต้นเป็นเส้นตรงหรือบิดเป็นเกลียวรอบต้นก็ได้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

ใบ ส่วนใหญ่พื้นใบเป็นสีเขียวถึงเขียวอมเทา บางทีใต้ใบอาจมีสีแดงถึงแดงเข้มขึ้นอยู่กับสายพันธุ์  รูปใบมีหลายแบบ ได้แก่ รูปไข่ปลายใบมน ใบรีรูปหยดน้ำหรือรูปใบพาย ฯลฯ บางสายพันธุ์ใบอาจบิดเป็นเกลียว เป็นคลื่นหรือโค้งงอเล็กน้อย

ดอก โป๊ยเซียนเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีกลีบดอกสองกลีบ มีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ตรงกลางกลีบดอก โป๊ยเซียนออกดอกเป็นช่อ  แต่ละช่อประกอบด้วยดอกเป็นคู่ ตั้งแต่ สองดอก สี่ดอก แปดดอก สิบหกดอก สามสิบสองดอก หรือมากกว่านั้น สีของดอกมีหลายสี เช่น แดง ขาว ครีม เหลือง ส้ม เขียว นอกจากนี้ยังมีหลายสีและลายในดอกเดียวกันแตกต่างกันไปขึ้นกับสายพันธุ์ รูปทรงของดอกมีทั้งทรงกลม ยาว รี เหลี่ยม กลีบดอกตั้งขึ้นคล้ายกรวยหรือผายลงคล้ายร่ม ขนาดของดอกบางสายพันธุ์มีขนาดเล็กกว่า 1 ซม. แต่บางสายพันธุ์มีขนาดใหญ่กว่า 5 ซม. โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่พัฒนาโดยคนไทยบางสายพันธุ์มีขนาดใหญ่กว่า 6 ซม.
ผลและเมล็ด ดอกโป๊ยเซียนหลังจากที่มีการผสมเกสรติดแล้ว จะพบว่าที่บริเวณกลางดอกจะมีกระเปาะนูนขึ้นมาเป็นผลสีขาว มีลักษณะเป็นพูเล็กๆ 3 พู แต่ละพูจะมีเมล็ดอยู่หนึ่งเมล็ด เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลคล้ายเมล็ดพริกไทยและจะแตกออกพร้อมกับดีดเมล็ดกระเด็นออกไป



2.บอนสี Caladium 0018034.gif
        _x.gifบอนสี เป็นไม้ประดับที่มีความสวยงามโดยเฉพาะใบที่มีรูปทรงและสีสันสวยงามแปลกตาจนได้ชื่อว่าเป็น "ราชินีแห่งไม้ใบ" เป็นพืชในวงศ์ Araceae สกุล Caladium มีถิ่นกำเนิดแถบทวีปอเมริกาใต้และประเทศในเขตร้อนทั่วไป บอนสีเป็นไม้ประเภทล้มลุกที่มีหัวสะสมอาหารอยู่ใต้ดินคล้ายหัวเผือกหรือมัน มีรากเป็นเส้นฝอยเล็กๆ แทงออกมาระหว่างหัวกับลำต้นและพักตัวในฤดูหนาวโดยจะทิ้งใบจนหมดและเริ่มผลิใบเจริญเติบโตอีกครั้งในฤดูฝน
         _x.gif บอนสีหรือที่เรียกกันแต่เดิมว่า"บอนฝรั่ง" (Caladium Becolจากชื่อทำให้คาดเดาได้ว่าเป็นพืชที่ไม่ได้มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย จากหลักฐานพอสรุปได้ว่าบอนสีปลูกเลี้ยงกันในต่างประเทศมานานกว่า 300 ร้อยปีแล้ว มีการสันนิษฐานว่า บอนสีบางต้นมีผู้นำเข้ามาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีมีการติดต่อค้าขายกับชาวจีน ชวา เปอร์เซีย และมีความสัมพันธุ์กับชาวยุโรปเป็นอย่างดี จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงเสด็จนิวัตพระนครหลังเสด็จประภาสยุโรป ราวปี พศ. 2444 ทรงนำพันธุ์ไม้หลายชนิดจากยุโรปเข้ามาปลูกในประเทศไทย ในจำนวนพันธุ์ไม้เหล่านี้มีบอนฝรั่งหรือบอนสีรวมอยู่ด้วย ในช่วงแรกปลูกเลี้ยงกันเฉพาะในกลุ่มของเจ้านายและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และมักปิดบังวิธีการปลูกเลี้ยงและการผสมพันธุ์บอน  จนกระทั่งความนิยมปลูกเลี้ยงบอนสีเสื่อมลง บอนสีพันธุ์ต่างๆ จึงได้แพร่หลายสู่ประชาชนทั่วไป
  
      _x.gifการปลูกเลี้ยงบอนสีได้มีต่อเนื่องกันตลอดมาจนถึงประมาณปี พศ.2470-2475 เป็นช่วงที่บอนสีได้รับความนิยมมากที่สุด มีการผสมพันธุ์บอนขึ้นใหม่มากมาย มีสีสันสวยงามแปลกตาต่างไปจากบอนสีดั้งเดิม มีการแลกเปลี่ยซื้อขายกันอย่างแพร่หลาย มีการตั้งชื่อแยกหมวดหมู่ตามลักษณะและสีสันของใบออกเป็นกลุ่มๆ เรียกว่า "ตับ" นอกจากนี้ยังมีการจัดประกวดบอนสีที่ "สนามบาร์ไก่ขาว" หลังจากปี พศ.2475 บอนสีก็ค่อยๆ เสื่อมความนิยมลง จนกระทั่งราวปี พศ.2508 มีผู้สั่งบอนใบยาวจากสหรัฐเข้ามาในประเทศไทย ทำให้มีการผสมพันธุ์บอนสีพันธุ์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีก บอนสีกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งราวปี พศ.2522-2525 มีการจัดตั้ง สมาคมบอนสีแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริม อนุรักษ์และพัฒนาการปลูกเลี้ยงบอนสีรวมถึงการรับจดทะเบียนชื่อบอนสีที่ได้รับการผสมขึ้นใหม่ และด้วยความสามารถของคนไทย ปัจจุบันการปลูกเลี้ยงบอนสีได้มีการพัฒนาวิธีการปลูกเลี้ยงและสายพันธุ์ให้มีสีสันสวยงามแปลกตาไปจากเดิมมาก จนอาจกล่าวได้ว่าบอนสีคือบอนของคนไทย
000224.gifลักษณะโดยทั่วไป000224.gif

กสน Croton kapook_25087.gif
     _x.gifโกสนเป็นไม้ประดับอีกชนิดหนึ่งที่มีจุดเด่นอยู่ที่สีสรรและลักษณะรูปทรงของใบที่มีความสวยงามต่างไปจากไม้อื่นๆ สันนิษฐานว่ามีผู้นำเข้ามาปลูกเลี้ยงในประเทศไทยเมื่อประมาณกว่า 100 ปี มาแล้วหรือพอๆ กับบอนสีและไม้ประดับอื่นๆ อีกหลายชนิด
     
      _x.gifคำว่า โกสน เพี้ยนมาจากคำว่า โกรต๋น หรือ Croton ในภาษาอังกฤษ โกสนเป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงกลาง มีลักษณะใบแตกต่างกันแล้วแต่สายพันธุ์ คือ มีทั้ง ใบกลม ใบยาว ใบกว้าง ใบแคบและใบบิด พื้นใบก็มีทั้งสีเดียว สองสี สามสี หรือมากกว่า ซึ่งส่วนใหญ่จะประกอบด้วยสีเขียว เหลือง แสด ชมพู และแดง จึงจัดได้ว่าเป็นไม้ประดับที่มีความสวยงาม โกสนเป็นพืชในตระกูล Cadiaeum Varigeatum มีถิ่นกำเนิดกระจัดกระจายอยู่ในมลายู อินเดีย จีน อเมริกา และยุโรป ในประเทศไทย พระยาภาสกรวงศ์ เป็นผู้สั่งนำเข้ามาจากอินเดียเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณปี พศ.2423 เรียกกันว่า แขกดำ และได้รับความนิยมปลูกเลี้ยงและขยายพันธุ์กันเฉพาะในวังของเจ้านายและข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ อยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งเป็นเวลานานพอสมควร ต่อมาจึงได้ขยายตัวออกไปตามวัดวาอารามต่างและประชาชนทั่วไปตามลำดับ ทำให้มีการขยายพันธุ์โกสนออกไปอย่างกว้างขวางรวมทั้งมีการผสมพันธุ์ขึ้นมาใหม่อีกมากมาย


01.gifลักษณะโดยทั่วไป 01.gif
        _x.gif โกสนจัดเป็นไม้ประเภทไม้พุ่ม มีขนาดตั้งแต่พุ่มขนาดเล็กจนถึงพุ่มขนาดใหญ่ โดยทั่วนิยมปลูกเป็นไม้ประดับในกระถางเพื่อให้มีลักษณะเป็นพุ่มเล็กๆ แต่ถ้าปลูกลงดินและมีอายุหลายปีลำต้นสูงใหญ่เป็นพุ่มขนาดใหญ่ได้เช่นกัน จุดเด่นของโกสนคือเป็นไม้ที่มีใบแปลกไปจากไม้ชนิดอื่นๆ คือ มีรูปร่างลักษณะของใบแตกต่างกันออกไปหลากหลายรูปแบบ มีสีสันของใบหลายสีในใบหรือต้นเดียวกัน  ส่วนประกอบของใบ ลักษณะรูปทรงและสี แยกออกได้ดังนี้

ส่วนประกอบของใบ
  • พื้นใบ คือส่วนของหน้าใบทั้งหมด
  • กระดูกหรือไส้ คือเส้นที่อยู่กลางใบ จากโคนใบไปหาปลายใบ
  • หูใบ คือส่วนล่างทั้งสองข้างของกระดูก
  • ตะโพกใบ อยู่ถัดจากหูใบขึ้นมาทางปลายใบเล็กน้อย
  • สายระโยงหรือสายระยาง คือสายเส้นเล็กๆ ที่แตกออกจากหลังใบบริเวณปลายใบ และจะมีแผ่นใบเล็กๆ ที่ปลายสาย
  • ปลายใบงอนปากเป็ด คือลักษณะของใบที่ปลายใบมนๆ และคอดไม่เหยียดตรงอาจงอนไปทางใดทางหนึ่ง
  • ปลายใบจีบ มีลักษณะคล้ายปลายงอนปากเป็ด แต่ใบจะเหยียดตรงและทีปลายใบทั้งสองข้างจะจีบเข้าหากัน

ลักษณะรูปทรงใบ
  • ใบกลม รูปใบมีลักษณะกลมคล้ายใบบัวบก ลักษณะใบเช่นนี้ส่วนใหญ่จะมีสายเปียระโยง
  • ใบกลมค่อนข้างยาว มีลักษณะกลมรี ส่วนใหญ่ปลายใบจะกระดกหรืองุ้มขึ้น กลางใบมีทั้งย่นและเรียบ ลักษณะใบเช่นนี้ส่วนใหญ่จะมีสายเปียระโยง
  • ใบกลมย่นไหล่ละคร มีลักษณะคล้ายใบกลมค่อนข้างยาว  แต่ปลายใบจะกระดกขึ้นมากกว่า กลางใบนูนขอบใบทั้งสองข้างหลุบลู่ลงเป็นรูปหลังเต่าคล้ายเครื่องแต่งกายที่ประดับบนไหล่ทั้งสองข้างของตัวละคร
  • ใบกลมตะโพกกว้าง รูปใบลักษณะนี้ส่วนใหญ่จะมีหูใบผายตะโพกกว้าง ปลายใบเรียวเล็กลงงอนหรืองุ้มขึ้น
  • ใบขนาดกลาง ขนาดของใบตั้งแต่ตะโพกถึงบริเวณกลางใบเกือบเท่ากัน ปลายใบเรียวเล็กลงงอนหรืองุ้มขึ้น ตะโพกใบมน
  • ใบขนาดกลางปลายใบมน ลักษณะของใบไม่ยาวมากนัก รูปใบไม่บิด ปลายใบมน บางสายพันธุ์ตะโพกใบแคบบางสายพันธุ์ตะโพกใบกว้าง
  • ใบแคบยาวตะโพกเล็กปลายใบจีบ  ความกว้างหรือแคบของใบวัดที่บริเวณกลางใบ จากริมใบด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง  ใบลักษณะนี้จะแคบและยาว ปลายใบจีบ
  • ใบยาวกลางใบบิด มีลักษณะคล้ายกับรูปใบแคบยาวตะโพกเล็กปลายใบจีบ แต่ช่วงกลางของใบจะบิด
  • ใบยาวกว้างหน้าใบเป็นร่องลึกหลังใบนูน  เป็นโกสนรูปใบยาว หน้าใบเป็นร่องคล้ายรางน้ำฝน หลังใบนูน
  • ใบสามแฉกหรือใบตรี ลักษณะใบเป็นสามแฉกคล้าย อาวุธตรีศูล หรือ ใบสาเก มีทั้งสั้นและยาว
  • ใบขนมเปียกปูน โคนใบและปลายใบแหลม กลางใบพองกางออกคล้ายขนมเปียกปู 

 
การกัดสีของใบ
               โดยส่วนใหญ่แล้วใบอ่อนหรือใบน้องที่ผลิออกจากยอดใหม่ๆ ใบจะมีสีเขียวก่อน แล้วจะเปลี่ยนสีของพื้นใบจากส่วนใดส่วนหนึ่งไปเป็นสีอื่นเมื่อใบมีอายุมากขึ้นเป็นใบพี่ ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า กัดสี  ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วการกัดสีของใบโกสนจะกัดสีจากใบอ่อนสีเขียวมาเป็นสีเหลือง เป็นชมพูอมส้ม และเป็นสีเปลือกมังคุดหรือสีม่วงอมดำตามลำดับ
  • กัดสีจากลูกบวบไปหาขอบใบ ที่ด้านหลังของพื้นใบบริเวณกลางใบจะเป็นลอนๆ คล้ายลูกฟูก เรียกว่า ลูกบวบ การกัดสีลักษณะนี้จึงเป็นการกัดสีจากบริเวณกลางใบไล่ไปหาขอบใบ
  • กัดจุดประ คือลักษณะของสีที่ต่างกับพื้นใบเป็นจุดเล็กบ้างใหญ่บ้าง แต่ขอบของจุดจะพร่ากลมกลืนกับพื้นใบไม่เห็นขอบชัดเจน
  • จุดประ คือลักษณะของสีที่ต่างกับพื้นใบเป็นจุดเล็กบ้างใหญ่บ้าง เห็นเป็นจุดชัดเจน
  • กัดสีจากริมใบไปหากระดูก คือลักษณะการกัดสีหรือเปลี่ยนสีจากริมใบไล่เข้ามาหาไส้หรือกระดูก
  • ใบแก่หรือใบพี่กัดจากริมใบและใส้หรือกระดูกและพื้นใบจะเปลี่ยนสี เป็นลักษณะการกัดสีจากริมใบและกระดูด เมื่อใบแก่พื้นใบจะเปลี่ยนสี

หัว มีลักษณะคล้ายหัวมันฝรั่งหรือหัวเผือก มีรากฝอยขนาดเล็กแตกออกรอบๆ หัว และที่ใกล้ๆ กับรากหรือระหว่างรากจะมีหน่อเล็กๆ หรือที่เรียกกันว่า เขี้ยว ซึ่งสามารถงอกออกเป็นบอนต้นใหม่ได้
กาบและก้านใบ คือส่วนที่ต่อจากหัวบอน กาบเป็นส่วนโคนของก้านใบ แต่ไม่กลมเหมือนก้านใบ คือมีลักษณะเป็นกาบคล้ายกาบของใบผักกาดเป็นที่พักของใบอ่อน ส่วนก้านใบคือส่วนที่ต่อจากกาบใบขึ้นไปยังใบบอนที่กาบและก้านใบนี้จะมีลักษณะของสีที่แตกต่างไปจากสีของกาบและใบอย่างเห็นได้ชัด ลักษณะของสีนี้เรียกแตกต่างกันไป ดังนี้
  • สะพาน มีลักษณะเป็นเส้นขีดเล็กๆ ยาวจากกาบไปตลอดแนวก้านใบขึ้นไปจรดคอใบ  ถ้าอยู่ด้านหน้าเรียกสะพานหน้า ถ้าอยู่ด้านหลังเรียกสะพานหลัง
  • เสี้ยน มีลักษณะเป็นจุด เป็นขีด หรือเส้นเล็กๆ สั้นยาวไม่เท่ากันและมีสีต่างกับก้าน กระจายอยู่รอบๆ ก้านใบ
  • สาแหรก มีลักษณะเป็นเส้นเล็กๆ บริเวณโคนก้านใบหรือกาบใบ วิ่งจากบริเวณโคนของกาบใบไปตามก้านใบเป็นเส้นสั้นๆ ไม่ยาวเหมือนสะพาน อาจเป็นเส้นเดี่ยว เส้นคู่ หรือหลายเส้นก็ได้
แข้ง คือส่วนที่ยื่นออกจากก้านใบ คล้ายใบเล็กๆ อยู่กึ่งกลางก้านหรือต่ำกว่าใบจริง อาจมี 1 หรือ 2 ใบขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ และมักพบในบอนสีประเภทใบกาบ
คอใบ คือ ช่วงปลายของก้านใบไปถึงสะดือใบ
สะดือ คือ ส่วนปลายสุดของก้านใบจรดกับกระดูก
กระดูก คือ เส้นกลางใบที่ลากจากสะดือไปจนสุดปลายใบ
เส้น คือ เส้นใบย่อยที่แยกจากกระดูกหรือเส้นกลางใบ
  
ใบ ของบอนสีมีขนาดและรูปแบบของใบแตกต่างกันออกไป ซึ่งสามารถแบ่งรูปแบบของใบได้ 4 ลักษณะ คือ
  • บอนใบไทย เป็นบอนสีที่มีมาแต่โบราณ มีรูปร่างคล้ายหัวใจ หูใบยาวแต่ไม่ฉีกถึงสะดือ ก้านใบอยู่กิ่งกลางใบ ปลายใบแหลมหรือมนขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ บอนใบไทยมักมีใบขนาดใหญ่ สีสรรสวยงาม และใบดกไม่ทิ้งใบ
  • บอนใบกลม เป็นบอนที่นับได้ว่าเกิดขึ้นโดยฝีมือคนไทย เกิดขึ้นโดยการผ่าหัวขยายพันธุ์ของบอนใบไทยเมื่อนำมาปลูกเลี้ยงแล้วเกิดผิดแผกไปจากต้นเดิม คือมีลักษณะใบกลมขึ้นกลายเป็นบอนใบกลม ปลายใบมนสม่ำเสมอ และมีก้านใบอยู่บริเวณกิ่งกลางใบ
  • บอนใบกาบ เป็นบอนที่มีก้านใบแผ่แบนตั้งแต่โคนใบจนถึงคอใบ ลักษณะคล้ายใบผักกาด
  • บอนใบยาว ซึ่งแต่เดิมเรียกว่าบอนใบจีน มีรูปใบเรียวหรือป้อม หูใบสั้นกลมฉีกถึงสะดือ ก้านใบอยู่ตรงรอยหยักบริเวณโคนใบพอดี บอนใบยาวแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ
    1. ใบยาวธรรมดา เป็นบอนที่มีใบยาว ปลายเรียวแหลม หูใบยาวกลมคล้ายใบโพธิ์ บางพันธุ์มีสะโพกกว้าง
    2. ใบยาวรูปหอก เป็นบอนที่มีใบเรียว ปลายใบเรียวแหลม หูใบสั้นหรือบางพันธุ์ไม่มีหูใบเลย
    3. ใบยาวรูปใบไผ่ เป็นบอนที่มีใบแคบเรียวยาวเป็นเส้น ปลายใบเรียวแหลม ไม่มีหูใบ มีลักษณะคล้ายใบของต้นไผ่ 
  พื้นใบ คือ ส่วนหน้าของใบทั้งหมด บนพื้นใบนี้จะเห็นลักษณะของสีที่แตกต่างกันไปตามพันธุ์ของบอนสี ซึ่งเรียกต่างกันไปดังนี้
  • เม็ด คือ จุดหรือแต้มสีบนใบ มีขนาดใหญ่เล็กแตกต่างกัน และมีสีต่างจากสีของพื้นใบ มีลักษณะของสีและขนาดแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ และมีลักษณะต่างๆ กัน ดังนี้
    • เม็ดลอย คือ จุดหรือแต้มสีบนใบ ที่มีสีต่างกับสีพื้นใบ อย่างชัดเจน
    • เม็ดจม คือ จุดหรือแต้มสีบนใบ ที่มีสีกลมลกืนกับสีพื้นใบ
    • เม็ดใหญ่ คือ จุดหรือแต้มสีที่มีขนาคใหญ่กระจายทั่วใบ
    • เม็ดเล็ก คือ จุดหรือแต้มสีที่มีขนาคเล็กกระจายทั่วใบ
    • เม็ดถี่ คือ จุดหรือแต้มสีที่กระจายถี่ๆ อยู่ทั่วใบ
    • เม็ดห่าง คือ จุดหรือแต้มสีที่กระจายห่างๆ อยู่ทั่วใบ
  • วิ่งพร่า คือ เส้นเล็กๆ ที่มีสีต่างไปจากกระดูกหรือเส้น และวิ่งขนานไปทั้งสองข้างของกระดูกและเส้น เช่น กระดูกเขียว เส้นเขียว และมีเส้นสีขาวขนานไปทั้งสองข้างของกระดูกและเส้น   ลักษณะนี้เรียกว่า กระดูกเขียว เส้นเขียว วิ่งพร่าขาว
  • หนุนทราย คือ จุดสีเม็ดเล็กๆ ละเอียดมากคล้ายเม็ดทราย กระจายทับบนสีของพื้นใบ จนมองคล้ายมีสองสี เช่น พื้นใบสีชมพู แต่จะไม่เป็นสีชมพูอย่างชัดเจน เพราะมีเม็ดสีเขียวละเอียดๆ กระจายกระจายทั่วพื้นใบ ลักษณะนี้เรียกว่า พื้นใบสีชมพูหนุนทรายเขียว
  • ป้าย คือ บอนที่มีบริเวณของสีอื่นที่ต่างไปจากสีของพื้นใบอย่างเห็นได้ชัดป้ายทับอยู่ เช่น บอนที่มีพื้นใบสีเขียวแล้วมีสีแดงป้ายทับ พื้นใบเขียวป้ายแดง
หูใบ คือช่วงส่วนล่างของใบที่ยื่นออกจากสะดือใบแยกออกเป็นสองส่วน สั้นหรือยาวขึ้นอยู่กับพันธุ์ของบอนสี บางพันธุ์ก็ไม่มีหูใบเลย
หูใต้ใบ คือส่วนที่เป็นติ่งเล็กๆ ยื่นออกมาจากใต้ใบบริเวณกระดูกหรือเส้นกลางใบ พบเห็นได้เฉพาะบอนสีบางพันธุ์เท่านั้น
สะโพก คือส่วนด้านข้างของใบทั้งสองข้าง อยู่บริเวณเหนือหูใบหรือแนวตรงกับสะดือใบ มีลักษณะเว้าคอดลง จะเห็นได้ชัดเจนในบอนใบไทย




No comments:

Post a Comment